ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ได้เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวและการชอปปิง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ร่วมกับผู้แทนภาคเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าปลีกไทย เพื่อต้องการกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มเติม โดยเฉพาะในช่วงไฮซีซั่นที่จะมาถึงนี้ ตามนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ที่ต้องการให้ภาคการท่องเที่ยว เป็นตัวชูโรงกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน
ด้านนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการ รมว.คลัง กล่าวว่า ได้ประชุมนัดแรก ร่วมกับภาคเอกชนไปแล้ว เพื่อหารือแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวและการชอปปิงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยหลักการคือ ต้องการออกมาตรการมากระตุ้นการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติรายได้สูงเข้ามาใช้จ่ายในไทยเพิ่มขึ้น แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่ามาตรการจะออกมาเป็นอย่างไร จะต้องมีการหารือเพิ่มเติมก่อน แต่จะพยายามเร่งทำให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อเริ่มใช้ทันภายในฤดูกาลท่องเที่ยว หรือไฮซีซั่นที่จะมาถึง
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มว่า การหารือยังมีตัวแทนจากกรมภาษีเข้าร่วม เพื่อใช้นโยบายทางภาษีมาช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว อาทิ กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ต้องไปศึกษาหาวิธีการเข้ามา เช่น ลดหรือยกเว้นภาษีสินค้าแบรนด์เนม เพราะเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ จำเป็นต้องการกระตุ้นครั้งใหญ่ เพราะต้องเผชิญปัญหาหลายด้าน ทั้งเงินทุนไหลออก งบประมาณล่าช้า อีกทั้งโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท กว่าจะได้ใช้ต้องรอไปถึงต้นปีหน้า ดังนั้นการท่องเที่ยวจะช่วยประคองเศรษฐกิจในช่วงระยะสั้นได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับสินค้าที่เข้าข่ายจะลดหรือยกเว้นภาษี เบื้องต้นมีการศึกษาการลดภาษี กลุ่มแบรนด์เนม สินค้าลักชัวรี่เป็นหลัก เช่น กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา เสื้อผ้า เครื่องสำอาง แต่จะเน้นแบรนด์ที่เป็นกลุ่มไฮเอนด์เป็นหลัก เช่น แอร์เมส ปราดา หลุยส์ วิตตอง โรเล็กซ์ ซึ่งปัจจุบันเสียภาษีนำเข้าเฉลี่ย 30% หากลดลงมา ก็สามารถดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักเข้ามาชอปปิงในเมืองไทย และส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ ส่วนแบรนด์ต่างชาติทั่วไป ที่ไม่ใช่ไฮเอนด์อาจไม่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้เพิ่งเป็นการประชุมครั้งแรก ดังนั้น กรมศุลกากร จะต้องไปความเหมาะสม ข้อดีข้อเสียทุกมิติก่อน โดยเฉพาะการกำหนดขอบเขตคำว่าสินค้าแบรนด์เนม ลักชัวรี่ ว่าประเภทใดถึงจะได้รับข้อยกเว้นภาษี เนื่องจากสินค้าแบรนด์เนมก็มีหลายเกรด หลายแบบ อีกทั้งต้องดูผลกระทบในเชิงจัดเก็บรายได้ และที่สำคัญผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย เช่น หากมีการลดภาษีแบรนด์เนมสินค้ากลุ่มเครื่องหนัง รองเท้า กระเป๋า ก็อาจทำให้ผู้ผลิตในประเทศเดือดร้อน ขายของไม่ได้ แต่ในส่วนของธุรกิจบริหาร ห้างสรรพสินค้าก็อาจได้ประโยชน์ ดังนั้น จึงต้องศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบข้อดีข้อเสียต่างๆ ให้ชัดเจนก่อน