นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT ผลักดันเส้นใยกัญชง ซึ่งเป็นเส้นใยที่มีคุณภาพมาใช้ในงานสิ่งทอ และนำไปผลิตเป็นสินค้าแฟชันต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าแฟชั่น หมวก กระเป๋า ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ที่สามารถนำเส้นใยกัญชงมาประดับตกแต่งให้มีความทันสมัย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และช่วยยกระดับงานศิลปหัตถกรรมไทยให้มีความน่าสนใจมากขึ้น และสร้างรายได้ให้กับกลุ่มผู้ผลิตงานหัตถกรรมจากใยกัญชงได้เพิ่มขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ กัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่มีประโยชน์และถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในงานศิลปหัตถกรรมไทย ประเภทงานทอผ้ามาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในกลุ่มชาวม้ง ที่ใช้ภูมิปัญญา ทักษะฝีมือ และวัตถุดิบที่เป็นเส้นใยจากกัญชงมาถักทอเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสวมใส่ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเส้นใยจากกัญชงมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว คือ ใส่สบาย ไม่ร้อน ระบายอากาศได้ดี และยังมีความเหนียวทนทาน เมื่อเทียบกับเส้นใยธรรมชาติอื่น ๆ ที่สำคัญการทอใช้เส้นใยจากธรรมชาติ 100% กระบวนการปลูก ไม่พึ่งพาสารเคมี ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ผ้าจากเส้นใยกัญชง เป็นงานศิลปหัตถกรรมไทยที่ตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลกในปัจจุบันด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“ที่ผ่านมา ได้ผลักดันให้งานศิลปหัตถกรรมไทย มีการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามามีบทบาทร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งกรรมวิธีการผลิตชิ้นงานให้มีคุณภาพ มีความประณีต สวยงาม และที่สำคัญ ต้องสอดรับกับความต้องการของตลาดและโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะสินค้าสีเขียว การปกป้องสิ่งแวดล้อม ที่กำลังเป็นเทรนด์สำคัญของโลก การนำเส้นใยกัญชงมาใช้ในการผลิตสินค้าสิ่งทอ และแฟชั่นต่าง ๆ สามารถตอบโจทย์ และมั่นใจว่าจะได้รับการตอบรับทั้งตลาดในและต่างประเทศ”นายสินิตย์กล่าว
นายพรพล เอกอรรถพร รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า จากการสำรวจ พบว่า ขณะนี้แต่ละท้องถิ่นได้มีการหันมาปลูกต้นกัญชง เพื่อใช้ในงานศิลปหัตถกรรมไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยครูธัญพร ถนอมวรกุล ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2564 ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ผ้าเขียนเทียนใยกัญชง โดยเริ่มตั้งแต่นำต้นกัญชงมาลอกเส้นใยและผ่านกรรมวิธีเฉพาะจนกลายเป็นผืนผ้า นำมาย้อมสีธรรมชาติ และบรรจงเขียนลวดลายลงบนผืนผ้าด้วยเทียนตามแบบฉบับชาวม้ง ก่อนนำมาตัดเย็บเป็นสินค้าแฟชั่นมากมาย รวมถึงครูนวลศรี พร้อมใจ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2557 ก็เป็นอีกหนึ่งท่านที่บุกเบิกนำต้นกัญชงมาใช้ประโยชน์ โดยแปรรูปให้เป็นเส้นใย ก่อนนำมาถักทอเป็นสินค้าเสื้อผ้า หมวก กระเป๋า และของใช้อื่นๆ ที่สามารถใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่ง SACIT จะเข้าไปช่วยผลักดันให้มีการนำเส้นใยกัญชงมาใช้ในการผลิตสินค้าหัตถศิลปกรรมเพิ่มมากขึ้น และเน้นการพัฒนารูปแบบชิ้นงานให้สามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลาย และช่วยสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชนเพิ่มขึ้น