นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้อธิบดีกรมสรรพากรไปศึกษาการปรับปรุงกฎหมายการจัดเก็บภาษีการรับมรดก เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมองว่า กฎหมายการจัดเก็บภาษีการรับมรดกในปัจจุบันนั้น เป็นกฎหมายที่มีขึ้นในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น โดยกฎหมายจะต้องบังคับใช้ได้จริงทั้งในมุมการจัดเก็บรายได้และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาปรับแก้ไขกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากรเผยว่า หลักในการพิจารณาแก้ไขกฎหมายภาษีการรับมรดกนั้น ต้องพิจารณาใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1.ฐานในการจัดเก็บ ซึ่งปัจจุบัน จัดเก็บมรดกในส่วนที่มีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาทต่อราย ซึ่งประเด็นนี้ ก็ต้องมาดูว่า รัฐบาลต้องการปรับเพิ่ม หรือ ลดลงหรือไม่อย่างไร 2.รายการทรัพย์สินมรดกที่เข้าข่ายการเสียภาษี และ 3.ข้อยกเว้นในการเสียภาษีดังกล่าว เช่น ภรรยาหรือสามีตามกฎหมายเมื่อได้รับมรดกจะได้รับการยกเว้นภาษี
“อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการยกเว้นการจัดเก็บภาษีการรับมรดกที่มีมูลค่าไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อรายนั้น ถือเป็นช่องที่จะหลีกเลี่ยงภาษีได้ ยกตัวอย่าง บิดาซึ่งเสียชีวิตมีมรดกอยู่ 300 ล้านบาท แบ่งให้ภรรยา 100 ล้านบาท และลูก 2 คน คนละ 100 ล้านบาท มรดกดังกล่าว จะไม่มีภาระภาษีเลย เนื่องจากได้รับมรดกไม่เกิน 100 ล้านบาท กรณีภรรยานั้น ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว เนื่องจาก กฎหมายให้ยกเว้นเฉพาะคู่สามีภรรยา”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับภาษีมรดกจะจำแนกอัตราภาษีตามความสัมพันธ์ใกล้ชิด โดยกรณี บุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดก จะต้องเสียอัตราภาษีมรดก 5% แต่ผู้ที่ไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดก จะต้องเสียอัตราภาษีมรดก 10% โดยทรัพย์สินมรดกที่เข้าข่ายต้องเสียภาษี อาทิ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น ตราสารหนี้ เงินฝาก ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน ทรัพย์สินทางการเงิน ส่วนมรดกที่ไม่ต้องเสียภาษี เช่น เงินสด ทองคำ เครื่องเพชร พลอย ของสะสมของโบราณ และทรัพย์สินทางปัญญา
นอกจากนี้ ภาษีมรดกยังมีข้อยกเว้นภาษีการรับมรดก อาทิ บุคคลผู้ที่ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนา หรือเห็นได้ว่า มีความประสงค์ให้ใช้มรดกเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์ หรือ หน่วยงานรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือ กิจการสาธารณประโยชน์ หรือ บุคคล หรือองค์การระหว่างประเทศ ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีต่อองค์กรสหประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกันกับนานาประเทศ ซึ่งประวัติของภาษีมรดกนั้น เคยถูกนำมาใช้เมื่อปี 2476 แต่ได้ยกเลิกไป เนื่องจาก จัดเก็บได้น้อย ต่อมาในปี 2558 รัฐบาลได้ตรากฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาใหม่